คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ

หลักสูตรคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ

ประกอบด้วย 9 หลักสูตร ดังต่อไปนี้

1. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

ชื่อปริญญา : บัญชีบัณฑิต
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บช.บ.
อักษรย่อปริญญา (English) : B.Acc.

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านวิชาชีพบัญชีตามมาตรฐานสากล มีจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตลอดจนทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นต่อการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี สามารถบูรณาการความรู้ทางด้านวิชาชีพบัญชีควบคู่กับความรู้ในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนทักษะทางวิชาชีพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ ตลอดจนมีทักษะในการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการ การตัดสินใจ การเรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สามารถประกอบวิชาชีพบัญชี ได้ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และประกอบวิชาชีพอื่นในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประกอบวิชาชีพอิสระ ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1) ด้านการทำบัญชี (2) ด้านการสอบบัญชี (3) ด้านบัญชีบริหาร (4) ด้านการภาษีอากร (5) ด้านการวางระบบบัญชี (6) ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีทางการบัญชี (7) ด้านการตรวจสอบภายใน (8) ด้านการให้คำปรึกษาทางการเงินและบัญชี (9) ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิิชาการจัดการสารสนเทศและคอมพิวเตอร์)

ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการสารสนเทศและคอมพิวเตอร์)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การจัดการสารสนเทศและคอมพิวเตอร์)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (Information and Computer Management)

ผลิตบัณฑิตที่สามารถนำนโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่าง ๆ ไปใช้กับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และสามารถบริหารจัดการข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวคิดริเริ่มในการเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการปฏิบัติงาน มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

บัณฑิตที่จบสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้ (1) นักวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ (2) ผู้ประกอบการใหม่ด้านเทคโนโลยี (3) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ (4) นักออกแบบ และดูแลเว็บไซต์ (5) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (6) นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

3. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์)

ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การจัดการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (Electronic Business Management )

ผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และสารสนเทศเพื่อพัฒนาภาคธุรกิจให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังสามารถบริหารจัดการข้อมูล เพื่อนำไปใช้ต่อยอดเป็นฐานความรู้ทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวคิดริเริ่มในการเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการปฏิบัติงาน มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

บัณฑิตที่จบสาขาวิชาการจัดการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้ นักการตลาดออนไลน์ นักวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ นักออกแบบพัฒนา และดูแลเว็บไซต์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบการใหม่ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และ นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

4. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว)

ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยว)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การจัดการการท่องเที่ยว)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (Tourism Management)

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรมและจริยธรรม มีหลักวิชาการทางด้านการจัดการการท่องเที่ยวที่ถูกต้อง ทั้งมีความพร้อมในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในระดับประเทศและภูมิภาค อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ดังต่อไปนี้ (1) พนักงานในบริษัทจัดการนำเที่ยว หรือตัวแทนการท่องเที่ยว (2) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (3) มัคคุเทศก์ (4) พนักงานในโรงแรม และรีสอร์ท (5) ผู้ประกอบการบริษัทจัดการนำเที่ยว หรือตัวแทนการท่องเที่ยว (6) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นต้น (7) เจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารด้านการท่องเที่ยวหน่วยงานภาคเอกชนหรือองค์กรอิสระ (8) นักวิชาการหรือนักวิจัย (9) อาจารย์ผู้สอน

5. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาการตลาด)

ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การตลาด)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (Marketing)

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านหลักการและโครงสร้างของศาสตร์ทางธุรกิจ มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ทางด้านการตลาด รวมถึงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและทางด้านปฏิบัติควบคู่กันได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน และมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ได้มาตรฐานสากล พร้อมทั้งนำความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศไปใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ มีจริยธรรมและคุณธรรมที่ดีงาม พร้อมนำความรู้ออกไปรับใช้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด สามารถประกอบอาชีพ ได้หลากหลายทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้ (1) ฝ่ายการตลาด (2) ฝ่ายดูแลสายผลิตภัณฑ์ (3) ฝ่ายตราสินค้า (4) ฝ่ายขาย (5) ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (6) ฝ่ายการคลังสินค้า (7) ฝ่ายจัดซื้อ (8) ผู้ประกอบการธุรกิจ (9) นักวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ใหม่ (10) นักวิเคราะห์การตลาด (11) นักวิจัยตลาด (12) พนักงานจัดซื้อ (13) เจ้าหน้าที่บริหารงานขายและการตลาด (14) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอื่น ๆ ในภาครัฐและเอกชนและแสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร ที่ต้องใช้บุคคลที่มีทักษะความสามารถในด้านการตลาด

6. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง)

ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (Insurance and Risk Management)

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทั้งทางทฤษฎีและสามารถประยุกต์ใช้หลักวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพในการบริหารจัดการและพัฒนาธุรกิจประกันภัยและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ ได้หลากหลาย ทั้งสถาบันการเงิน ธนาคาร บริษัทประกันภัย รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมี่เกี่ยวข้อง โดยมีตำแหน่งงานดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิจารณารับประกันภัย (2) เจ้าหน้าที่ฝ่ายเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบการรับประกันภัย (4) เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการผู้เอาประกันภัย (5) เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ (6) เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (7) เจ้าหน้าที่ฝ่ายสำรวจภัย (8) เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดประกันภัย (9) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์การลงทุน (10) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการลงทุน (11) เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ความเสี่ยง (12) เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารความเสี่ยง (13) เจ้าหน้าที่ฝ่ายแนะนำการประกันภัย (14) เจ้าหน้าที่ในฝ่ายงานอื่น ๆ ของบริษัทประกันภัย (15) หน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่างๆ ที่ต้องอาศัยบุคคลที่มีทักษะความสามารถเฉพาะในด้านนี้

7. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ)

ชื่อปริญญา : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษธุรกิจ)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): ศศ.บ. (ภาษาอังกฤษธุรกิจ)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.A. (Business English)

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความสามารถในศาสตร์ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจโดยนำทฤษฎีและประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพทั้งในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ สามารถประกอบอาชีพ ได้หลากหลายทั้งในหน่วยงานราชการ บริษัท ทั้งในและต่างประเทศ เช่น กระทรววงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม สถานเอกอัคราชทูต สถานกงสุลประจำประเทศต่างๆ สถานศึกษา เป็นต้น (1) หน่วยงานราชการภายในและต่างประเทศ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สถานกงศุลประจำประเทศต่าง ๆ สถานศึกษา (2) บริษัท/ภาคเอกชนในและประเทศ (3) เจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว เช่น โรงเรียนสอนภาษา ธุรกิจนำเข้าและส่งออก รีสอร์ท โรงแรม ร้านอาหาร ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ เป็นต้น

8. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจ)

ชื่อปริญญา : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การจัดการรัฐกิจ)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): รป.บ. (การจัดการรัฐกิจ)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.P.A. (Public Management)

ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการสมัยใหม่ และตระหนักรู้ในงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์และนำมาต่อยอดองค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม ให้มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับรัฐประศาสนศาสตร์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่ซับซ้อน โดยใช้ความรู้แนวคิด และทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ ให้มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองและแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม สามารถปรับตัวในสังคมที่มีความหลากหลาย รับฟังความเห็นที่แตกต่างและแสดงความเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างสร้างสรรค์ มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับพื้นฐานของตนเองและบริบทของกลุ่ม ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถปรับตัวได้ในสังคมที่มีความหลากหลายและขัดแย้งทางค่านิยม ให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นต่อการทำงานด้านสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารได้ สามารถใช้เครื่องมือทางสถิติขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องหรือเหมาะสมกับประเด็นปัญหาทางรัฐประศาสนศาสตร์ และสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประกอบการนำเสนอและสื่อสารประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจ สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยมีตำแหน่งงานต่าง ๆ เช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักบริหารงานทั่วไป ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานทั่วไป เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ปลัดอำเภอ ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการอิสระ นักการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ที่ปรึกษานักการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เป็นต้นไป

9. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาศิลปะการแสดงและการจัดการ)

ชื่อปริญญา : ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาศิลปะการแสดงและการจัดการ)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): ศศ.บ.(ศิลปะการแสดงและการจัดการ)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.A. (Performing Arts and Management)

บัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สร้างสรรค์งานทางด้านศิลปะการแสดงอย่างมีคุณค่าและมูลค่าให้กับสังคมและประเทศชาติ พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและสมรรถนะตรงตามความต้องการของ ตลาดแรงงานในการจัดการแสดงที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชาคมอาเซียนและเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ส่งเสริมการยกระดับศิลปะการแสดงของชาติให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากลในแนวทางการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาคุณภาพบุคลากรและการบริการวิชาการและสังคม ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศ และหน่วยงานภาคเอกชนในการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการวิจัย

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปการแสดงและการจัดการ สามารถประกอบอาชีพได้ดังนี้ (1) อาชีพอิสระทางการแสดง เช่น การเปิดโรงเรียนสอนการแสดง การเปิดโรงละครสำหรับจัดการแสดง การรับจัดงาน Event (2) งานด้านการศึกษาและการอบรม เช่น ครูอาจารย์ วิทยากรด้านศิลปะการแสดงและการพัฒนาบุคลิกภาพ ฯลฯ (3) งานด้านศิลปะการแสดง เช่น นักแสดง ผู้กำกับการแสดง ผู้เขียนบท ผู้กำกับเวที ผู้ออกแบบองค์ประกอบต่าง ๆ ในการแสดง ฯลฯ (4) งานด้านการผลิตและการจัดการการแสดง เช่น โปรดิวเซอร์ ผู้จัดการแสดง ผู้จัดอีเว้นท์ ผู้จัดการกองถ่าย ฯ

 

คู่มือ/แผนการศึกษา

คำอธิบายรายวิชา

การรับรองหลักสูตรฯ

5/5